top of page
  • Writer's pictureKampol V

ธารณธาตุเรื่องสำคัญ ที่มักถูกมองข้าม

ธารณธาตุเป็นเรื่องสำคัญ สำหรับผู้ที่สนใจในศาสตร์อายุรเวท

มองผิวเผินเป็นเรื่องง่ายๆ ดูไม่มีอะไร แต่มีความสำคัญมากในการวิเคราะห์โรค และการวางแผนการรักษาโรค


ธารณธาตุคืออะไร?

ธารณธาตุ คือ ธาตุที่ทรงร่างกายไว้ เรียกว่า สัปตธาตุ ก็ได้ เพราะมี 7 ธาตุ ด้วยกัน

อาการปรกติของธารณธาตุ (7 Dhatus)



1. รสะธาตุ(Rasa Dhatus) ทำให้เกิดความอิ่ม ความพอใจ และความเบิกบาน และส่งเสริมการกำเนิดของโลหิต - PLASMA พลาสม่า น้ำเลือด น้ำเหลือง สารอาหาร

2. รักตะธาตุ(Rakta) คือ เลือด เป็นสิ่งเลี้ยงชีวิต ทำให้ผิวพรรณและร่างกายเป็นสุข และทำให้เกิดเนื้อ (มางสะ) - เม็ดเลือดแดง

3. มางสะธาตุ(Mamsa) ทำให้ร่างกายสมบูรณ์ และทำให้เกิดไขมันเนื้อมัน (เมทะ)

4. เมทะธาตุ(Medas) ทำให้ร่างกายเป็นมัน รักษาความอบอุ่นของร่างกาย หนุนค้ำจุนร่างกายให้มั่นคงแน่นหนา และบำรุงกระดูก (อัษถิ) - ไขมัน

5. อัษถิธาตุ(Asthi) เป็นโครงพยุงร่างกาย และทำให้เกิดไขกระดูก (มัชชะ) กระดูก

6. มัชชะธาตุ(Majja) เกิดภายในโพรงกระดูก ทำให้เกิดกำลังและความมันของร่างกาย ทำให้เกิดความรักใคร่ และน้ำอสุจิ (ศุกระ) - ไขกระดูก Bone marrow

7. ศุกระธาตุ(Shukra) ทำให้เกิดความกล้าหาญและกำลัง ทำให้เกิดความรักระหว่างเพศ และสืบพันธุ น้ำเชื้ออสุจิ // Artav(รังไข่)


ธารณธาตุคือมีลำดับไหม?

ตามภาพด้านบนจะเห็นว่ามีลำดับอยู่ มีลูกศรชี้เรียงกันมาเรื่อยๆ

เพราะธารณธาตุมีสิ่งหล่อเลี้ยงคือสารอาหาร

ถ้าจะมองก็เหมือนกับอุทริยะ(หนึ่งในพิกัดด้วยควบคุมธาตุดิน)

โดยอุทริยะจะเป็นจุดเริ่มต้นของรสะธาตุ

รสะธาตุก็ไปก่อเกิด หรือนำไปสร้าง รักตะธาตุ

และรักตะธาตุก็ไปก่อนเกิด มางสะธาตุไล่ไปเรื่อยๆ

โดยแต่ละการสร้าง มันต้องใช้เวลาด้วยในการบ่มเพาะ

1. รสะธาตุ ใช้เวลา 5 วัน

2. รักตะธาตุ ใช้เวลา 5 วัน

3. มางสะธาตุ ใช้เวลา 5 วัน

4. เมทะธาตุ ใช้เวลา 5 วัน

5. อัษถิธาตุ ใช้เวลา 5 วัน

6. มัชชะธาตุ ใช้เวลา 5 วัน

7. ศุกระธาตุ ใช้เวลา 5 วัน

ดังนั้นครบรอบสมบูรณ์ใช้เวลาทั้งหมด 35 วันเลยทีเดียว


ถ้าเข้าใจอย่างงี้แล้ว ถ้าสารอาหารไม่พอ อุทริยะไม่มีคุณภาพคุณคิดว่าอะไรจะไปก่อน หรือมีแนวโน้มสัญญาณที่จะแสดงความบกพร่องหรืออ่อนแอก่อนละ?


ธารณธาตุกับมละธาตุ

จะว่ากันให้ครบแล้ว เมื่อมีเสริมหรือมีเข้าก็ต้องมีออก

นั่นก็สัมพันธ์กับตัวคุมธาตุอีกตัวคือกรีสะไงครับ

ในทางอายุรเวทก็จะพูดถึงมละธาตุด้วย โดยแต่ละธารณะธาตุมันก็จะมีช่องทางการขับมละธาตุของมันเอง

เช่น มละธาตุของเมทะธาตุ ก็คือเหงื่อ

มละธาตุของอัษถิธาตุ ก็คือ ผมและเล็บ (มองเป็น by product นะครับ) เป็นต้น


อ้างอิง: อายุรเวทศึกษา, ขุนนิทเทสสุขกิจ

#อายุรเวท

23 views0 comments
bottom of page