top of page
  • Writer's pictureKampol V

รู้หรือไม่ 6 รสนั้น ในทางอายุรเวทก็มีลำดับการย่อยที่ต่างกัน

โดยทั่วไปแล้วอาหารที่เรากินเข้าไปแต่มื้อจะใช้เวลาอย่างน้อย 6 ชม. จะมากกว่านี้เท่าไหร่ก็ขึ้นกับลักษณะอาหารที่เรากินเข้าไป

ในทางอายุรเวทนั้น 6 รสของอาหารนั้นมีความสัมพันธ์กับการย่อยแต่ละขั้นหรือแต่ระยะการย่อย ซึ่งจะไปหล่อเลี้ยงรสะธาตุ ดังนั้นรสะธาตุจะมีความเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์ในทั้ง 6 ระยะการย่อยนี้


อย่างที่ทราบกันดีว่าในทางวิทยาศาสตร์ คาร์โบไฮเดรตจะเริ่มถูกย่อยตั้งแต่ในปากแล้วโดยเอมไซม์อะไมเลสในน้ำลาย ซึ่งเทียบกับทางอายุรเวทก็คือ โพธกะ(Bodhaka Kapha) ซึ่งเป็นหนึ่งในพิกัดย่อยของเสหะ หรือ กผะ

จริงๆแล้วแค่น้ำลายมาก น้ำลายน้อย ก็พอจะบอกแนวโน้มของการเกิดโรคได้แล้ว ไว้จะมาเล่าให้ฟัง

รสชาตินั้นก็รับรู้เมื่ออาหารเข้าปาก ลิ้นจะเป็นตัวรับรส แลรสของอาหารนี้เองที่เป็นตัวไปกระตุ้นให้ จาตะระอัคนีทำงาน(ก็คือน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร) ผ่านการกระตุ้นของปราณะวายุไปที่สมอง


เรื่องของลำดับการย่อยนี้เป็นส่วนหนึ่งของคอร์สทฤษฎีการจับชีพจรตามศาสตร์อายุรเวท ครับ เห็นว่าน่าสนใจเลยนำมาเผยแพร่เป็นสาธารณะ


ภาพแสดงลำดับการย่อยของรสต่างๆทั้ง 6 รส


ในทางอายุรเวทการย่อยของแต่ละรสสัมพันธ์กันและมีลำดับ
ภาพแสดงลำดับการย่อยของแต่ละรสตามอวัยวะต่างๆ

ระยะการย่อยทั้ง 6 ระยะสัมพันธ์กับตำแหน่งของการย่อยและรสทั้ง 6 รส


Don’t make your guide longer than 2000 words. In an ultimate guide, you also have a lot of space to use your SEO keywords. Put 2-3 keywords around in the post, in the H2 headings, and in the text itself. Add Anchors Links much like a table of contents where readers can click and go to a section of the post. To add them, click on Link in the toolbar above, select Section and select one of the headings in the post.


ขั้นที่ #1: การย่อยของรสหวาน

ขั้นที่ #2: การย่อยรสเปรี้ยว

ขั้นที่ #4: การย่อยรสเผ็ด

ขั้นที่ #5: การย่อยรสขม

ขั้นที่ #6: การย่อยรสฝาด


 

ระยะที่ #1: การย่อยรสหวาน

เมื่ออาหารมาถึงกระเพาะอาหาร

กเลทกะ คัพ (Kledaka kapha) เป็นสิ่งแรกที่ปล่อยออกมา

น้ำตาลจะถูกย่อย และระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงขึ้น

อาหารจะถูกทำให้แต่ตัวเป็นชิ้นเล็กๆ

ในช่วงชม.แรกนั้นกระเพาะจะมีการขยายตัว

และทำให้เรารู้สึกอิ่ม

และ Kapha หรือเสมหะ นี่เองที่ทำให้เรารู้สึกง่วงเงาหาวนอน

รสะธาตุจะถูกหล่อเลี้ยงให้เสริมสร้างในระยะนี้


ระยะที่ #2: การย่อยรสเปรี้ยว


ในขั้นนี้ ดินและไฟ จะเด่นชัด อาหารจะถูกย่อยให้เป็นชิ้นเล็กลงไปอีก

ในขั้นนี้ กระเพาะอาหารจะเริ่มเบาลงเนื่องจากธาตุไฟ

อาหารจะเป็นรสเปรี้ยวมากขึ้น เนื่องจากกรดในกระเพาะอาหาร

และกเลทกะ (Kledaka kapha)จะเป็นตัวปกป้องผนังของกระเพราะอาหาร

จากกรดที่หลั่งออกมาย่อยอาหาร

กรณีที่ กเลทกะนี้พร่อง หย่อน หรือออกมาน้อย

จะนำไปสู่การเกิด กรดไหลย้อน แสบร้อนกลางอก


อัคนีหลั่งรสเปรี้ยวเข้าสู่ระสะธาตุ ดังนั้น 

ระยะนี้นี่เองที่จะทำให้ลมพิษ ผื่น และปัญหาผิวหนังแย่ลง 


ในระยะนี้ รสะธาตุจะช่วยบำรุงรักตะธาตุ( Rakta Dhatu)


ระยะที่ #3: การย่อยรสเค็ม

เมื่ออาหารเคลื่อนเข้าสู่ลำไส้เล็กส่วนต้น ธาตุน้ำ และไฟจะเด่นในระยะนี้

เกิดการผสานน้ำมันกับน้ำเข้าด้วยกัน Emulsification

สะมานะวาตะ, ปาจกะปิตตะ และรันชกะปิตตะ จะมีส่วนสำคัญในระยะนี้


ในส่วนของลำไส้เล็กส่วนต้น (Duodenum) จะเกี่ยวข้องกับ มังสาธาตุ(Mamsa Dhatu)

และส่วนท้ายของ Doudeonum จะเกี่ยวข้องกับ เมโทธาตุ.


เมื่ออาหารเคลื่อนเข้าสู่ลำไส้เล็กส่วนต้น ถุงน้ำดี(Gallbladder) จะหลั่งน้ำดี(รันชกะปิตตะ) และตับอ่อนก็จะหลั่งเอมไซม์(pancreatic enzymes, Kloma Agni) 

ทั้งสองอย่างจะคลุกเคล้ากับอาหาร

ระยะนี้จะเป็นการย่อยโปรตีนและไขมัน


ตามตำราว่า ถ้าพลังงานไตอ่อนแรง อาจก่อให้เกิด เกิดอาการบวมน้ำได้ในระยะนี้ 

ในระยะหรือขั้นนี้จะก่อให้เกิดการหล่อเลี้ยงมังสาธาตุและเมธะธาตุ


ระยะที่ #4: การย่อยรสเผ็ด

เกิดขึ้นที่ลำไส้เล็กส่วนกลาง (Jejunum)

เอนไซม์ในส่วนบนของลำไส้เล็กส่วนต้นมีรสฉุนมากกว่า และมีธาตุไฟอยู่มาก สิ่งนี้ทำให้เกิดความร้อนและการไหลเวียน และสภาวะต่างๆ เช่น กอง ผื่นที่ผิวหนัง และเลือดออกผิดปกติอาจทำให้ระคายเคืองได้ 

ธาตุลม ทำให้กระดูกมีรูพรุนและช่วยในการดูดซึมสารอาหาร เช่นเดียวกับการบีบตัวและการผลิตก๊าซ 

ขั้นตอนนี้หล่อเลี้ยง อัฐิธาตุ


ระยะที่ #5: การย่อยรสขม

เกิดขึ้นใน ลำไส้เล็กส่วนปลาย (ileum) 

ซึ่งเป็นส่วนสุดท้ายและยาวที่สุดของลำไส้เล็ก 

จะมีการย่อยเพิ่มเติมอีก ณ ตอนนี้ 

ธาตุลมและอากาศธาตุ(รสขม) เป็นองค์ประกอบหลักในขั้นตอนนี้ โดยส่วนใหญ่แล้วการดูดซึมอาหารผ่านจะเกิดขึ้นที่ระยะนี้ ผ่าน Villi(วิลไล)**

ธาตุลมจะช่วยกระตุ้นให้สมานะวาตะทำงานเพื่อช่วยให้ลำไส้ในการบีบตัว

ด้วยความเบาของวาตะ (อากาศธาตุและธาตุลม) ในระยะนี้เราจะเริ่มรู้สึกไปเองว่าเริ่มหิวอีกแล้วเหมือนท้องจะว่าง ซึ่งจริงๆแล้วยังไม่ใช่จังหวะทีดีที่จะกินอาหารเข้าไปตอนนนี้ ในระยะที่ 5 นี้จะช่วยลดความร้อนของร่างกายลง ลดอาการของปิตตะที่ผิดปกติ  


ระยะที่ #6: การย่อยรสฝาด

ในระยะนี้เรียกว่า ระยะกษายะ อวสฺธา ปะกา การย่อยอาหารในส่วนของรสฝาด

เกิดขึ้นในซีคัม(Cecum) ลมและดินเป็นองค์ประกอบหลักในขั้นตอนนี้ ธาตุลมช่วยในการดูดซึมสารอาหาร และธาตุดินช่วยให้อุจจาระมีปริมาณมาก อาหารที่เหลวข้นมากขึ้นเรื่อยๆ 

ขั้นตอนนี้จำเป็นสำหรับการดูดซึมวิตามิน แร่ธาตุ และน้ำ และจะเกิดขึ้นในลำไส้ใหญ่จากน้อยไปหามาก 

กเลทะ(Kleda) ถูกดูดซึมโดยลำไส้ใหญ่และกำจัดออกทางไตและกระเพาะปัสสาวะในรูปของปัสสาวะ

ขั้นตอนนี้กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ โดยวาตะ พิกัดย่อย อปานะวาตะ(Apana Vata) จะมีส่วนสำคัญในการรับผิดชอบขั้นตอนนี้และส่งสัญญาณไปยังสมองเมื่ออุจจาระพร้อมสำหรับการกำจัดออก


ความอยากอาหารที่แท้จริงจะกลับมาในช่วงนี้ 

ระยะที่6 จะส่งเสริมหล่อเลี้ยงบำรุง ศุกระธาตุ หรือ อาทวะธาตุ



เรียบเรียงโดย หมอแผน อิเล็กตรอนโบราณ


 

85 views0 comments
bottom of page