ૐ Phan Ayurveda by หมอแผน
คอร์ส ทฤษฎีของการจับชีพจรตามศาสตร์อายุรเวท
จุดเริ่มต้นของการฝึกหัดจับชีพจร เพื่อที่จะเป็นผุ้เชี่ยวชาญในการจับชีพจร
ดำเนินการสอนโดย
หมอแผน(กัมพล วิเชียรโหตุ)
เรียนผ่านคลิปวีดีโอย้อนหลัง
ในกลุ่มปิด facebook
การจับชีพจร = ศาสตร์ 50% และศิลป์ 50%
จะเก่งได้ต้องอาศัยประสบการณ์
แต่จะเริ่มได้และพัฒนาได้เร็วต้องเข้าหลักการและทฤษฏี
❤️ ทำไมถึงควรเรียนคอร์สทฤษฏีการจับชีพจรฯ
-
เพื่อต่อยอดทฤษฎีธาตุ และการแพทย์แผนไทย ในการวินิจฉัยโรค
-
เป็นจุดเริ่มต้นในการเริ่มฝึกหัดจับชีพจรอย่างมีแบบแผนและหลักการตามศาสตร์อายุรเวท ถ้าไม่มีแนวทาง เราจะไม่รู้เลยว่าเวลาเราฝึกจับชีพจรเราต้องสังเกตุอะไรบ้าง และการจับชีพจรสามารถวิเคราะห์โรคได้อย่างไรบ้าง
-
ได้ความรู้เกี่ยวกับพื้นฐานของศาสตร์อายุรเวทไปด้วย เพราะแต่ละคลิปจะมีการสอดแทรกเนื้อหาของอายุรเวทเข้าไปด้วย และยังอธิบายเพิ่มเติมเปรียบเทียบกับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่(อะนาโตมี)
ผมไม่ใช่แพทย์ผู้มีประสบการณ์ในการจับชีพจร แต่สิ่งที่นำมาเผยแพร่เป็นทฤษฏี และหลักการในการจับชีพจรในศาสตร์อายรุเวท ซึ่งหลักๆผมจะอิงมาจากตำราและคลิปการสอนของทางอายุรเวท
ตามหลักแล้วจะให้ดี
1. คนสอนวิชานี้ควรจะมีประสบการณ์มาอย่างน้อยก็ 10 ปี แต่จะให้รอถึงตอนนั้น ผมอาจจะไม่ได้มีโอกาสมาสอนก็ได้
เลยคิดว่า เรามาเริ่มฝึกพัฒนาไปพร้อมๆกันดีกว่า ผมเห็นว่าในเมืองไทยยังไม่ค่อยมีคนเผยแพร่เรื่องนี้เท่าไหร่ (ที่สำคัญอีกอย่าง ค่าเรียนจะแพงกว่านี้แน่ๆ)
2. ควรจะเป็นการสอนแบบออฟไลน์ เพื่อจะได้มีการฝึกปฏิบัติจริง ซึ่งผมเห็นด้วย แต่อาจจะยังไม่เหมาะกับสถาการณ์และองค์ความรู้ของผมตอนนี้
รูปแบบการเรียน
เรียนผ่านคลิปวีดีโอ(ย้อนหลัง) ทั้งหมด 10 คลิป
✮ การสอนจะมีการจับ การวางนิ้ว ตามของอ.ลัด
✮ มีตัวอย่างการจับชีพจรให้ดู (แต่ก็ไม่สามารถจะอธิบายออกมาเป็นนามธรรมได้)
✮ การฝึกปราณะยามะที่ช่วยระบบไทรอยด์ เป็นต้น
✮ แต่ละEP ก็จะมีสอดแทรกเรื่องของทฤษฎีทางอายุรเวทไปด้วย เพราะการวิเคราะห์โรคต้องจะมีความเข้าใจ และยังมีส่วนอธิบายเปรียบเทียบการทำงานของอวัยวะและระบบที่เกี่ยวข้องกับแผนปัจจุบันด้วย
เนื้อหาและคลิปวีดีโอในกลุ่มปิด facebook
-
คลิปวีดีโอ ทฤษฎีของการจับชีพจรฯ 10 คลิป
-
ทฤษฎีทางอายุรเวท ที่เกี่ยวข้อง
-
พิเศษ! คลิปการฝึกสมาธิและปราณยามะ
เนื้อหาคอร์สทฤษฏีการจับชีพจรตามศาสตร์อายุรเวท
ความยาวคลิปรวม 9 ชม. 29 นาที
EP01 - Overview 1hr11นาที
✮ แนะนำประวัติของอาจารย์ลัด
✮ การทำสมาธิเบื้องต้น เพื่อให้สามารถ sensing การจับชีพจรได้ดีขึ้น
✮ ปรัชญาเบื้องต้นของศาสตร์ฮินดู อันเป็นหลักพื้นฐานของการอธิบายอายุรเวท
เช่น ปุระษะ ประกฤษติ อหังการ์ กุน่า(คุณลักษณะ) ได้แก่ สัตวะ ราชัส ทามัส
(เหมือนกับที่แผนจีน ต้องเรียนความเป็นมาของอี้จิง ห้าธาตุพื้นฐาน)
การจับชีพจรเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือที่ใช้ในการวินิจฉัยโรคด้วย
EP02 - ฟิสิกส์ของการจับชีพจร (1 ชม 42 นาที)
EP03 - อายุรเวทเบื้องต้น ศัพท์เรียนรู้ประกฤษติ (59 นาที)
✮ ตรีโทษ : วาตะ ปิตตะ กผะ
✮ ธาตุของแต่ละตรีโทษ
✮ รสกับลำดับการย่อย
✮ ธารณธาตุ
✮ แนะนำระดับของการกดนิ้วในการจับชีพจร
✮ ลักษณะของชีพจรวาตะ, ปิตตะ กผะ
✮ การจับชีพจรเพื่อหา ประกฤษติ ของแต่ละคน
(ประกฤษติ คือสมุฏฐานเจ้าเรือน)
EP04 การจับชีพจรเพื่อหา วิกฤษติ 46 นาที
✮ วิกฤษติ เสียสมดุลไปจากประกฤษติ
EP05 การจับชีพจรเพื่อหาว่าอวัยวะใดที่มีปัญหาหรือเสียสมดุล และเสียสมดุลด้วยสมุฎฐานใด 46 นาที
✮ เทียบกับแผนจีนว่าต่างกันอย่างไร
EP06 ชีพจรของปอดและลำไส้ใหญ่ 48 นาที
✮ อธิบายอายุรเวทที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะ
EP07 ชีพจรของถุงน้ำดี 42 นาที
EP08 ชีพจรของเยื่อหุ้มหัวใจ และระบบไหลเวียน 43 นาที
EP09 ชีพจรของหัวใจ และกระเพาะอาหาร 47 นาที
✮ การทำงานของหัวใจ และคลื่นไฟฟ้า เปรียบเทียบกับทางอายุรเวท
EP10 ชีพจรของม้าม กระเพาะปัสสาวะ ไต
✮ การทำงานของม้าม ไต และระบบปัสสาวะ
✮ แสดงสาธิตการตรวจโรค คลิปจากอ.ลัด
เนื้อหาคลิปการฝึกสมาธิและปราณยามะ
ความยาวคลิปรวม 2 ชม.
รวบรวมการฝึกสมาธิและปราณยามะ ที่แนะนำโดยอ.ลัด
ในคอร์สการจับชีพจรของอ.ลัดได้มีการแนะนำคลิปการฝึกสมาธิและปราณยามะ
1. สมาธิ Empty blow meditation 21 นาที
2. ฝึกสมาธิด้วยเทคนิค เราคือใคร 16 นาที
3. คลิปฝึกสมาธิ SoHum_Meditation (คล้ายกับการฝึกพุทโธบ้านเรา) 14 นาที
4. คลิปฝึก ภัสตริกา ปราณยามะ 21 นาที
5. คลิปฝึก กปาลปาติ ปราณยามะ 18 นาที
6. คลิปฝึก อนุโลม วิโลม ปราณยามะ 10 นาที
7. คลิปฝึก อัคนีสาระกริยา 9 นาที
8. คลิปฝึก ภรามารี ปราณยามะ 15 นาที
หมอแผน( พท.ว.ภ.กัมพล )
ประวัติโดยย่อ
-
จบการศึกษาป.ตรี โท วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
-
Master of Science in Finance, Chulalongkorn University
-
ศึกษาการแพทย์แผนไทยและสอบได้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยสาขาเวชกรรมไทย และเภสัชกรรมไทย
-
อาจารย์ผู้ดำเนินการสอนร่วม คอร์สทฤษฎีธาตุฯ
-
เจ้าของเพจ อิเล็กตรอนโบราณ