top of page

คอร์ส ทฤษฎีธาตุเพื่อการวิเคราะห์โรค และตำรับยาสมุนไพร

ที่มาของคอร์ส
🐟 เนื่องจากผม (หมอแผน )ได้ติดตามเรียนจากอ.ไกรสีห์มาพอสมควรจนวันหนึ่ง อ.บอกว่า

"พอจะเข้าใจบ้างแล้ว น่าจะลองไปสอน เพื่อเผยแพร่วิธี มุมมอง
และความเข้าใจเรื่องทฤษฎีธาตุฯ"

 
เลยไปที่มาในการจัดบรรยายสดผ่านระบบ Zoom 
โดยในการบรรยายนั้น อ.ไกรสีห์เมตตา 
มาตอบคำถามให้กับผู้เข้าร่วมอบรม และชี้แนะแนวทางเพิ่มเติมอีกด้วย

ดังนั้นคอร์สนี้จึงเป็นการเอาคลิปที่เคยสอนสดผ่านระบบ Zoom ดังกล่าวทั้งหมด 10 วัน มาตัดต่อใหม่ เพื่อให้เนื้อหากระชับมากขึ้น

  • ❤️ สามารถค้นหา ฟังซ้ำได้ง่าย

  • ❤️แต่ละคลิป ไม่ยาวจนเกินไป 

ElementTheory_course_20231128.jpg
❤️  ทำไมถึงควรเรียนคอร์สทฤษฎีธาตุเพื่อการวิเคราะห์โรคฯ
▶ เมื่อเข้าใจทฤษฎีธาตุ จะสามารถต่อยอด พัฒนาองค์ความรู้เพื่อนำไปใช้ในการรักษาคนไข้และดูแลคนใกล้ตัวได้ 
▶ ไม่หลงทางไปกับ สารสำคัญ เภสัชเคมี ซึ่งเป็นคนละศาสตร์กับการแพทย์แผนไทย
▶ เป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์ตำรับยาว่ามีฤทธิ์ไปทางใด เหมาะกับโรคอะไร และมีข้อควรระวังอะไรบ้าง
         รูปแบบการเรียน

เรียนผ่านคลิปวีดีโอ(ย้อนหลัง) ทั้งหมด 10 คลิป

✮ การสอนจะมีการจับ การวางนิ้ว ตามของอ.ลัด
✮  มีตัวอย่างการจับชีพจรให้ดู (แต่ก็ไม่สามารถจะอธิบายออกมาเป็นนามธรรมได้)
✮  การฝึกปราณะยามะที่ช่วยระบบไทรอยด์ เป็นต้น
✮  แต่ละEP ก็จะมีสอดแทรกเรื่องของทฤษฎีทางอายุรเวทไปด้วย เพราะการวิเคราะห์โรคต้องจะมีความเข้าใจ และยังมีส่วนอธิบายเปรียบเทียบการทำงานของอวัยวะและระบบที่เกี่ยวข้องกับแผนปัจจุบันด้วย

เนื้อหาและคลิปวีดีโอในกลุ่มปิด facebook
  1. คลิปวีดีโอ ทฤษฎีของการจับชีพจรฯ 10 คลิป

  2. ทฤษฎีทางอายุรเวท ที่เกี่ยวข้อง

  3. พิเศษ! คลิปการฝึกสมาธิและปราณยามะ

เนื้อหาคอร์สทฤษฏีธาตุเพื่อการวิเคราะห์โรค และตำรับยาสมุนไพร
ความยาวคลิปรวม 16 ชม. 

☰ รายละเอียดคลิปวีดีโอ 37 คลิป

EP01: Day1 - Clip 1/4
❤️ อธิบายว่าทำไมการวิเคราะห์ด้วยระบบธาตุถึงดี
🍃 มุมมองของวิเคราะห์ธาตุ คือการแปลงจากระบบหนึ่งไปสู่อีกระบบหนึ่ง
เปรียบเทียบได้กับ ในงานศิลปะ เราจะเรียนรู้แม่สี และอารมณ์ของแต่และแม่สี
สามารถนำมาวิเคราะห์อารมณ์ของภาพได้ และ นำมาสู่การผสมสีใหม่ได้
🍃 ในทางวิศวะก็มีความคล้ายกับการแปลงจะ time domain ไปเป็น frequency domain ด้วย fourier transform
🍃 การแพทย์แผนไทย คือการมองระบบร่างกาย และสมุนไพรให้เป็นธาตุทั้งห้า
🍃 เทียบได้กับการปรุงรสของอาหาร มันก็คือเรื่องของรสเปรี้ยว หวาน มัน เค็ม เผ็ด (เราไม่ต้องรู้หรอกว่า มันมีสารสำคัญอะไร หรือเครื่องปรุงรสมีมีสารสำคัญอะไรบ้าง เพื่อที่จะวิเคราะห์ว่ามันจะให้รสอะไร)
🍃 ไดอะแกรมแสดง แผนไทยมองเป็นธาตุ แผนปัจจุบันมองเป็นสารเคมี ฮอร์โมน
ต้องเข้าใจ การวิเคราะห์ด้วยระบบธาตุคืออะไร ดิน น้ำ ลม ไฟ คือส่วนที่เล็กที่สุด เป็นส่วนประกอบ พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
🍃 สมุนไพร ก็มีรส รสบอกธาตุ ดังนั้นธาตุจึงเป็นจุดร่วมที่เราจะใช้ในการวิเคราะห์โรค และสมุนไพรอะไรที่จะมาปรับสมดุล
❤️ ทดลองฝึกมองให้เป็นธาตุ
❤️ สรุป
🍃 แนวคิดของการแพทย์แผนไทย
ต้องเข้าใจความปกติของร่างกาย ความปกติของธาตุ เพื่อให้รู้ว่า
🍃 การท่องจำ เป็นสิ่งที่จะช่วยให้เข้าใจได้ในระยะยาว
🍃 ความจริงร่างกายเป็นแบบนี้ คนโบราณก็เข้าใจแหละ แต่จะต้องเขียนเป็นตำรา
จึงมีเรื่องของภาษาเข้ามาเกี่ยวด้วย
🍃 ความจริงมีเพียงหนึ่งเดียว ที่มาของตำรา คือภาษา แลการสื่อสาร
🍃 การศึกษาทางแผนปัจจุบัน อนาโตมี เป็นสิ่งที่ช่วยให้เข้าใจมากขึ้น แต่เราต้องย้อนมองให้กลับมาเป็นธาตุให้ได้ แล้วเราจะพัฒนาได้อีกเยอะ
🍃 เภสัชสมุนไพร ไม่ใช่แพทย์แผนไทย
❤️ อ.ไกรสีห์เข้ามาเสริม สรุป ย้ำอีกที
🍃 ความสำคัญที่เราต้องกลับมาเรียนทฤษฎีธาตุ
==========================
EP02: Day 1 - Clip 2/4 : เข้าใจธาตุจริงๆก่อนว่าคืออะไร ก่อนจะลงไประดับพิกัด
🍃 เข้าใจธาตุไฟคืออะไร
🍃 ร่างกาย พยายามปรับสมดุลด้วยตัวเองอยู่แล้ว
🍃 ธาตุลม มี youtube ของทางวิทยาศาตร์ ประกอบความเข้าใจ
🍃 ธาตุไฟทั้ง 4
==========================

EP03: Day1 - Clip 3/4 : ลงรายละเอียดระดับพิกัด และกำเริบหย่อนพิการของ ไฟ 4 ประการ และลม 6 ประการ
🍃 ลองมาพิจารณาว่า กำเริบ หย่อน พิการ ของธาตุไฟ ทำไมในคัมภีร์ถึงเขียนอาการไว้แบบนี้ เช่น ทำไมปริณามัคครีกำเริบ ถึงมีอาการ หิวบ่อย ปวดแสบท้อง ร้อนในอกในใจ
🍃 ธาตุน้ำ 12 ประการ
==========================

EP04: Day1 - Clip 4/4
❤️ตอบคำถามข้อสงสัยโดยอ.ไกรสีห์
❤️อธิบายเสริมเรื่องธาตุลม 6 กับ หทัยวาตะ สุมนา สัตถกะวาตะ
❤️อธิบายเสริมเรื่องธาตุไฟ
❤️ สุมนา กับอังคมังคาต่างกันอย่างไร?
❤️ ถามเคสจริงอุทธังคมาวาต เช่น ออทิสติก พาร์กินสัน กัญชาก็ช่วยได้
❤️ เกริ่นนำยกตัวอย่างแนวทางการตั้งตำรับยา เช่น ยาละลายเสมหะ
❤️ ตอบคำถามอื่นๆ
🐟🐟🐟🐟🐟🐟🐟🐟
EP05: Day 2 - Clip 1/3
❤️เ ริ่มด้วยการทบทวนเนื้อหาของวันก่อน
❤️ อากาศธาตุ
❤️ ธาตุกับฟิสิกส์
⇾⇾ การไหล กับอุณหภูมิ ความเป็นเสมหะ อาโปกับธาตุดิน
⇾⇾ น้ำเชื่อม ร้อนกับไม่ร้อน การไหลก็ต่างกัน
⇾⇾ อุณหภูมิ VS ปริมาตร = สมการ PV/T = k
==========================

EP06: Day 2 - Clip 2/3
❤️ อธิบายเรื่องสมุฏฐาน ปิตตะ วาตะ เสมหะ
❤️ เชื่อมโยง ตรีโทษหรือตรีธาตุสมุฏญาน ทางพุทธ vs อายุรเวท
❤️ พัทธะปิตตะ อพัทธปิตตะ
❤️ กายวิภาคของระบบ ตับ ถุงน้ำดี น้ำดี
==========================

EP07: Day2 Clip 3/3
❤️วาตะสมุฏฐาน และพิกัดย่อย
⇾⇾ หทัยวาตะ
⇾⇾ สุมนา
⇾⇾ สัตถกะวาตะ
❤️ สรุปตัวคุมธาตุ หรือตรีธาตุ สมุฏฐาน
❤️เสมหสมุฏฐาน
⇾⇾ ศอเสมหะ
⇾⇾ อุระเสหมะ
⇾⇾ คูถเสมหะ
⇾⇾ ยกตัวอย่าง ไอ เจ็บคอ มีเสมหะ เสลดเหนียว
❤️สรุป recap
⇾⇾ มุมมองการศึกษาเป็นระบบๆ ที่จะไม่ได้แยกดิน น้ำ ลม ไฟ แต่เป็นระบบการย่อยอาหาร ระบบการไหลเวียนโลหิต แทน
⇾⇾ แนะนำหัวข้อหนังสือสองเล่มมีหัวข้ออะไรบ้าง
🐟🐟🐟🐟🐟🐟🐟🐟
EP08: Day 3 - Clip 1/3
❤️ ตอบคำถาม - วาโยกับวาตะต่างกันอย่างไร
❤️ เปรียบเทียบการเข้าใจธาตุกับ การต้มน้ำ
⇾⇾ หม้อน้ำกับความร้อนที่เพิ่มขึ้น
❤️ ปิตตะ วาตะ เสมหะ ในทางอายุรเวทมักจะเชื่อมโยงมาถึงความปกติของแต่ละบุคคล เปรียบได้กับธาตุเจ้าเรือน
❤️ คลิปที่ผ่านมาจะพูดลงรายละเอียดของธาตุไฟกับลมก่อน แล้วไปพูดถึงตรีธาตุเลย คลิปนี้จะกลับมาพูดลงรายละเอียดของธาตุดิน
⇾⇾ แนะนำการศึกษาแพทย์แผนไทย ควรจะเข้าใจทางกายวิภาค หรือ ทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย
❤️ ธาตุดิน 20 ประการ และกำเริบ/หย่อน/พิการ
⇾⇾ มังสัง นหารู อัฏฐิ จะมีทุกธาตุทำงานร่วมกัน เช่นเลือด ลม
⇾⇾ กิโลมะกัง เทียบกับกายวิภาค (มีคลิปเปิดให้ดู)
⇾⇾ อัฐิ อิฐมิญชัง
==========================

EP09: Day3 - Clip 2/3
❤️ ยกนัง ตับ ผลิตปัตตัง แบ่งเป็น พัทธะ อพัทธะ เชื่อมโยงกับระบบย่อยอาหาร
❤️ ทบทวน พัทธะ อพัทธะ
❤️ คลิป ตับ ตับอ่อน อนาโตมีของทางเดินอาหารทั้งหมด
❤️ ปิตตัง อุทริยัง
❤️ อพัทธะ จะเป็นส่วนที่เข้าสู่กระแสเลือด
❤️ ปิหกัง ไต กายวิภาคของไต หน้าที่ของไตในมุมมองแผนปัจจุบัน
❤️ วักกัง ม้าม หน้าที่ กำเริบหย่อนพิการ
❤️ ปอด - ปับผาสัง
❤️ หทยัง สมุนา หทัยวาตะ
❤️ อุทริยัง
❤️ อันตคุนัง
❤️ อันตัง - ไส้ใหญ่
❤️ มัตถเกมัตถลุงคัง
==========================

EP10: Day3 - Clip 3/3
❤️ อาโปธาตุ
⇾⇾ เมโท
⇾⇾ บุพโพ คลิปกายวิภาคศึกษาประกอบ
⇾⇾ โลหิตก็จะนำพาเม็ดเลือดแดง
สารอาหาร เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด
ไหลเวียนไปตามส่วนต่างๆของร่างกาย
สถานีปอด ก็เป็นที่อ๊อกซิเจนจะกระโดดขึ้นรถไฟโดยสารไป
⇾⇾ ระบบน้ำเหลือง (lymphatic system)
ระบบน้ำเหลืองช่วยในการสร้างภูมิคุ้มกันของมนุษย์
⇾⇾ อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบน้ำเหลือง
ได้แก่ ต่อมต่างๆ
⇾⇾ สารอาหารที่ย่อยได้จากลำไส้เล็กก็จะเข้าสู่กระแสเลือด
⇾⇾ โลหิต
⇾⇾ (ตอบคำถาม เมื่อเหล็กมีสถานะที่ไหลได้)
⇾⇾ ปิตตังน้ำดี มีรสขม แต่ทำไมย่อยอาหารได้
⇾⇾ อพัทธะกับระบบฮอร์โมน ต่อมไร้ท่อ
🐟🐟🐟🐟🐟🐟🐟🐟
EP11: Day 4 - Clip 1/4
❤️เริ่มด้วย อ.ไกรสีห์ แนะนำว่าเราควรจะต้องรู้อะไรบ้าง
⇾⇾ เข้าใจเรื่องความเป็นปกติของธาตุ
⇾⇾ ความสำคัญของการเข้าใจธาตุ รสยา
⇾⇾ ยานั้นควรจะเป็นรูปแบบใด
เช่น ยาหอม ควรออกฤทธิ์ที่ไหน? รูบแบบควรเป็นรูปแบบใด
⇾⇾ เกริ่นนำเรื่องรสยา รสพิเศษ
⇾⇾ ทางยา ร้อนเย็น สุขุม
⇾⇾ การใช้รสยากับธาตุ เอามาตั้งตำรับเอง
❤️ น้ำดี กับ น้ำย่อยต่างกันอย่างไร แยกแยะให้ชัดเจน
❤️ อธิบายเพิ่มเติมเรื่องของบุพโพ
==========================

EP12: Day 4 - Clip 2/4
❤️ ความสำคัญของรสยา
❤️ รสยา 6 กับธาตุ แนวคิด และหลักการจำและเข้าใจเรื่องรสยากับธาตุ
==========================

EP13: Day 4 - Clip 3/4
❤️ แบบฝึกหัดทดสอบความเข้าใจ ความสัมพันธ์ ปิตตะ วาตะ เสมหะ กับรสยา
❤️ คุณสมบัติของรสยา เพื่อเชื่อมโยงกับสรรพคุณ หนัก เบา เฉี่ยวช้า รวดเร็ว แห้ง ชุ่มลื่น
❤️ พาไปดู รสยาของแผนจีน (แผนตะวันออก รสยาสำคัญ เป็นตัวบอกทางยา ธาตุ และฤทธิ์)
❤️ รสยา 6 และสรรพคุณ ตามตำรา (หลังจากที่เข้าใจเรื่องรสยาแล้ว ลองไปดูว่าในตำราเขียนอย่างไราบ้าง และสิ่งที่เรียนใน คลิป 2/4 สามารถมาอธิบายได้ไหมว่า ตำราเขียนแบบนี้)
❤️ รสยาที่ส่งผลต่อรสประธาน
==========================

EP14: Day 4 - Clip 4/4
❤️ รสอื่นๆ ที่ออกไปทางความรู้สึก เช่น เมาเบื่อ เอียน ปร่า หอมเย็น
🐟🐟🐟🐟🐟🐟🐟🐟
EP15: Day 5 - Clip 1/4
❤️ ทบทวนรสยา
❤️ ทบทวนวาตะ ปิตตะ เสมหะ
❤️ ทบทวนพัทธะ อพัทธะ น้ำย่อย
❤️ เจาะลึก ความเข้าใจวาโย วาตะ
⇾⇾ พิกัดย่อยของวาตะ (หทัยวาตะ สุมนา สัตถกะวาตะ) เทียบกับ วาโย 6 ประการ
==========================

EP16: Day 5 - Clip 2/4
❤️ รสยา รสหลัก รสรอง ทางของยาเช่นฤทธิ์ 3 ระยะ
❤️ เรื่องรสยาที่ควร และไม่ควรต่ออวัยวะต่างๆ
❤️ รสแสลง
❤️ กลไกการเกิดโรค
⇾⇾ กรดไหลย้อน
⇾⇾ ความดันโลหิตสูง (เกริ่นนำ)
==========================

EP17: Day 5 - Clip 3/4
❤️ อาจารย์ไกรสีห์ อธิบายเรื่องระบบย่อย แบบลึกๆชัดๆ
⇾⇾ เข้าใจอุทริยังจริงๆ
⇾⇾ ในกระเพาะมีอะไรมากกว่าอะไร ปิตตะ วาตะ เสมหะ
⇾⇾ ถ้าเสียสมดุลไปจะเกิดอะไรขึ้น เช่น
ปิตตะกำเริบ เสมหะน้อย ลมมาก อาการเป็นอย่างไร แสบท้อง มีลมโครกคราก ท้องลั่น
เสมหะมากกว่าปิตตะ ปิตตะก็ต้องเยอะด้วย วาตะก็ผกผันไป
⇾⇾ ธรรมชาติของกระเพาะก็ต้องมีความร้อน เหมือน มดลูก หัวใจ ปอด เพราะมีเลือดไปเลี้ยงเยอะ
⇾⇾ วาตะกำเริบ ในกระเพาะ
⇾⇾ เสมหะหย่อน ปิตตะเพิ่มหรือไม่เพิ่ม แต่ดูเหมือนว่าเพิ่ม กับอีกอย่างคือเพิ่มจริงๆ เช่นจากอาหาร, ความเครียด
==========================

EP18: Day 5 - Clip 4/4
❤️ กรีสัง
⇾⇾ อุจจาระ แบบไหนปกติๆไม่ไปกติ แบบไหน เรียกว่าอุจาระธาตุ
⇾⇾ สมมตุท้องผูก อุจจาระแข็ง การให้ยาแบบไหนจะทำให้ อุจจาระมีความนิ่มเหลวมากขึ้น
⇾⇾ การคิดตำรับยาเบื้องต้น โดยใช้ทฤษฏีธาตุ
❤️ รสยา ในแต่ละระยะ ความแรง กำลังยา
⇾⇾ สมุนไพร มีการออกฤทธิ์ของแต่ละอวัยวะต่างกันจริงไหม เช่นแผนจีนก็มีบอกว่า เข้าไปที่ตับ
⇾⇾ ฟ้าทะลายโจรออฟฤทธิ์อย่างไร
⇾⇾ สารสมดิบ รสเปรี้ยวฝาด คนละขั้ว เปรี้ยวทางยาร้อน ฝาดทางยาเย็น ตันนี้ประหลาด แล้วการออกฤทธิ์จะเป็นอย่างไร
⇾⇾ อะไรไปก่อน อะไรอยู่ได้นาน
❤️ จันทน์ลีลา ถ้าเอาโกฐทิ้งไป จะยังแก้ไข้ได้ไหม
⇾⇾ ยาในคัมภีร์ เจ้าขุนมูลนายเยอะ เครื่องเทศ โกฐเยอะ
🐟🐟🐟🐟🐟🐟🐟🐟
EP19: Day 6 - Clip 1/3
❤️ ทบทวนรสกับธาตุอีกครั้ง
❤️ ทำแบบทดสอบ(Quiz) เพื่อย้ำความเข้าใจ (จากที่อ.ไกรสีห์สอนคลิปที่แล้ว)
❤️ มลธาตุ ออกทางไหนได้บ้าง?
==========================
EP20: Day 6 - Clip 2/3
❤️ กลไกการเกิดโรค - ความดันโลหิตสูง
==========================
EP21: Day 6 - Clip 3/3
❤️ กลไกการเกิดโรค - เบาหวาน อธิบายเบาหวาน type1,type2
❤️ ใบอิทนิลน้ำ มะระขี้นก ใช้ได้ไหม?
🐟🐟🐟🐟🐟🐟🐟🐟
EP22: Day 7 - Clip 1/5
❤️ เริ่มเกริ่นนำยาคุมฤทธิ์เสริมฤทธิ์
❤️ คำถาม: เราจะรู้ได้อย่างไรว่า น้ำหนักของตัวยาไม่มากเกินไป
ไม่น้อยเกินไป?
🍃 ข้อแรกคือประสบการณ์ในการชิมตัวยาจะช่วยเราได้
ต้องรู้ว่ารสหลักของตำรับนี้ ควรออกไปทางไหน
อย่างการวิเคราะห์ตำรับยา
เราก็จะเริ่มจากการดูน้ำหนักตัวยา
🍃 ยกตัวอย่าง 
==========================
EP23: Day 7 - Clip 2/5
❤️ อ.ไกรสีห์ มาตอบคำถาม
⇾⇾ ยาแก้ไข้ 3 ตำรับ ต่างกันอย่างไร
❤️ ประสะเปราะใหญ่ ยาห้าราก กับโควิด-19
❤️ กลับไปที่ตำรับยาแก้ไข้ คนไม่เป็นไข้สูงๆกินได้ไหม
กินป้องกันได้ไหม ประสะจันทน์แดง กินได้เรื่อยๆ ช่วยอาการตับที่มีความร้อนสูง
แล้วกินทั้งสามตำรับไปเลยได้ไหม?
❤️ ไข้สามฤดู จันทลีลา จริงๆแล้วเย็นมาก ลูกกระดอม บอระเผ็ด ปลาไหลเผือก เย็นสุดใน 3 ตำรับ
ประสะจันทน์แดง เขียวหอมถือว่าไม่เย็นจัด กินได้ ช่วงเปลี่ยนอากาศ
🍃 ตัวยาห้าราก เคยชิมไหม ขมไหม ต่างกันอย่างไร ตัวที่ขมจริงๆมีกี่ตัว
มีรสปร่าอยู่ด้วย แล้วจะช่วยเรื่องน้ำเหลืองได้ไหม มีรสเมาไหม ถ้าใช้ไม่ครบ 5 ตัวได้ไหม?
🍃 กลับมาที่คำถาม 3 ตำรับนี้ใช้ต่างกันอย่างไร
🍃 ถ้าเปิดคลินิกเราควรจะมียาแก้ไข้กี่ตำรับ ตำรับไหนเหมาะกับเด็ก ยาเขียวหอม?
🍃 ถ้าคนไข้ ยาแก้ไข้สำหรับคนที่เป็นโรคหัวใจทำอย่างไร
🍃 เป็นไข้สูง ปวดหัวมาก อย่างโควิด ควรจ่ายยาห้ารากดีไหม?
🍃 ห้ารากกินร่วมกับประสะจันทน์แดงได้ไหม?
🍃 ยาหอมมีอะไรบ้าง เทพจิตร ทิพยโอสถ อินทรจัรก นวโกฐ
==========================
EP24: Day7 - Clip 3/5
❤️ เบาหวานชนิดที่ 1 ตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ ต้องรักษาด้วยการฉีดอินซูลิน นั้นแสดงว่า
⇾⇾ อพัทธะปิตตะพิการใช่หรือไม่?
⇾⇾ อาการอะไรที่คนโบราณรู้ได้ไงว่าเป็นเบาหวาน
⇾⇾ คุณเคยเห็นตำรับยารักษาเบาหวานในพระคัมภีร์ไหม?
❤️ การใช้เบญจผลธาตุในการรักษาเบาหวาน
⇾⇾ ลองวิเคราะห์ เบญจผลธาตุ รสประธานเป็นรสอะไร
⇾⇾ ตับอักเสบได้ ถ้าตับมีความร้อนมาก ก็ใส่จันทน์แดง จันทรเทศไปคุมตับอีกที
⇾⇾ จันทนเทศคือ sandalwood ไม่ใช่ nutmeg คนละพันธ์กับลูกจันทน์ดอกจันทน์
⇾⇾ จันทน์แดงคือ ลักจั่นจันผา อีกต้นคือ กลุ่มคล้ายกลุ่มประดู มีที่อินเดีย รักตจันทน์
⇾⇾ จันทน์ขาว คือต้นไหน ยังไม่จบ คือจันทนา กับ sandalwood
⇾⇾ วิเคราะห์ยากล่อมนางนอน
ตับร้อน ตับเย็นดูอย่างไง
❤️ เส้นเลือดตีบ
❤️ วิเคราะห์ตำรับยากล่อมนางนอน
⇾⇾ มีน้ำประสานทอง แปลว่า ชำระเสมหะแรง
⇾⇾ ปร่ามากเลย ขมแบบซ่าๆ
⇾⇾ มีกระดองปูป่า ก็ใช้เปลือกหอยแทนได้ เผาก่อน
==========================
EP25: Day 7 - Clip 4/5
❤️ กลับมาต่อเส้นเลือดตีบ ทางสมองจะเป็นโรคอะไรในโบราณ
เมโท ไขมันทำไมจัดเป็นอาโป ไม่เป็นปฐวี
🍃 แม่เนื้อเย็น เนื้ออุ่น
🍃 ถ้าไขมันไปอยู่ผิดที่เช่นไปอยู่ตามหลอดเลือดก็ทำให้เลือดไหลได้ไม่ดี
⇾⇾ ทำอย่างไรจะละลายไขมันตัวนี้ออกมาได้ ใช้สมุนไพรอะไร? ยาฤทธิ์อะไร?
สมุนไพรรสอะไร?
❤️ ยามูลจิตใหญ่น่าจะใช้ได้ไหม?
⇾⇾ ลองวิเคราะห์ยามูลจิตใหญ่
❤️ กลับมาคำถามเส้นเลือดตีบ ชำระไขมันในเลือด ใช้กลุ่มสมุนไพรไหน?
🍃 ตรีผลาได้ไหม? สมอเทศเป็นตัวแปรมหาศาล ถ้าสมออ่อนจะ (งงนิดหนึ่ง ถามอาจารย์อีกที สมออ่อน กับแก่เต็มที่ )
🍃 ผิวเหี่ยวๆ ไม่ค่อยมีเนื้อแบบนี้คือ อ่อน เปรี้ยวจะน้อยกว่าฝาด
⇾⇾เอามาทำยาต้องแกะเอาแต่เนื้อ ไม่เอาเม็ด
❤️ พูดถึงอบเชย
⇾⇾ อบเชยมีอยู่กี่แบบ ที่ขายในบ้านเรา
⇾⇾ อบเชยศรีลังกา จีน ญวน ไทย
❤️ สรุปเครื่องเทศกินได้ไหม เอามาดองกินได้ไหม?
❤️ คำถามต่อไป
🍃สารส้มดิบ เปรี้ยวฝาด ต้องการการชำระล้างก่อนแล้วค่อยไปสมาน หรือมากกว่าการสมาน
🍃 สารส้มสะตุ ฝาดเปรี้ยว ต้องการสมานก่อน แล้วเพิ่มความร้อนทีหลัง
🍃 ผ่านไฟแล้วสุขุมนุ่มนวลขึ้น ฤทธิ์จะอ่อนลง นุ่มนวลลง จะกลับทาง
🍃 ยาน้ำออกฤทธิ์เร็วกว่ายาลูกกลอน แต่ลูกกลอนอยู่ได้นานกว่า
❤️ ยาทาพระเส้น เอาไปดอง หรือบดผงแล้วเอาไปทา รักษาลมจับโปง(มีอาการปวดและบวม) โดยมีเหล้า หรือน้ำส้มสายชู เป็นกระสายยาขึ้นอยู่กับว่าเอาไปรักษาทางสมุฏฐานไหน
❤️ คำถาม กลุ่มยาฟอกโลหิตคืออะไร แผนไทยมองอย่างไร
เลือดมีมลทินหมายความว่าอย่างไร
❤️ ขมิ้นชันทำไมชิมแล้วรสเอียนนำมากกว่าเผ็ดปร่า
==========================
EP26: Day 7 - Clip 5/5
🍃 สรุป ต้องเข้าใจเรื่องธาตุ หลักกาตั้งตำรับยา อะไรคือเสริมฤทธิ์ คุมฤทธิ์
🍃เปิดคลินิกมีสมุนไพรสักกี่ตัวดี
🍃 ยาหม้อ กินกี่วัน ต้มกินจนยาจืดจริงไหม?
🍃 ยาหอมควรเป็นยาผง หรือ แคปซูลดี
🍃 แผนไทยไม่มีอักเสบ ไม่มีเชื้อโรค ไม่มีสารสำคัญ
🐟🐟🐟🐟🐟🐟🐟🐟
EP27: Day 8 - Clip 1/3
❤️ Recap ทบทวน จากที่อ.ไกรสีห์สอนใน Day 7
⇾⇾ ยาแก้ไข้ 3 ตำรับต่างกันอย่างไร
⇾⇾ ตำรับไหนอะไรเย็นสุด
⇾⇾ พิกุล ฐานรองดอก มีฤทธิ์ร้อน
⇾⇾ ประสะเปราะใหญ่
⇾⇾ ยาห้าราก
⇾⇾ ฟ้าทะลายโจร ในมุมมองแผนไทย รักษาโควิดได้จริงเหรอ
❤️ Recap เบาหวาน ,
❤️ Recap กล่อมนางนอน
==========================
EP28: Day 8 - Clip 2/3
❤️ 0:30:36 Recap ตับร้อน ตับเย็น
🍃 วิเคราะห์อาการเส้นเลือดตีบ
🍃 เคสที่เป็นโรคอัมพฤกษ์ ที่เส้นเลือดแตกแล้ว ให้ยากลุ่มออกร้อน จะช่วยให้ดี หรือเสี่ยง
🍃 Recap อบเชย, ยาทาพระเส้น, กระสายยา ยาลูกกลอน ยาน้ำ
🍃 ตอบคำถามเรื่องกัญชากับเส้นเลือดสมองตีบ
🍃 วิเคราะห์อาการที่เกิดจาก PM2.5 หรือ ลมพิษ
==========================
EP29: Day 8 - Clip 3/3
❤️ (ต่อ) บทที่ 4 หนังสือเวชกรรมไทยประยุกต์ 2 อ.ไกรสีห์ ลิ้มประเสริฐ
❤️ ยาธาตุอบเชย ถ้าไปใช้กรณีที่จุดเสียด รู้สึกว่าได้ผลค่อนช้า ถ้าเพิ่มพวก เจตพังคี หรือขิง จะทำให้เสียทางยาไปไหมค่ะ?
❤️ ยาธาตุแต่ละแบบ
⇾⇾ ยาธาตุอบเชย
⇾⇾ ยาธาตุขิง
⇾⇾ ยาธาตุฝาง
🐟🐟🐟🐟🐟🐟🐟🐟
EP30: Day 9 - Clip 1/3
❤️ ลมพิษ
🍃เหล้าฤทธิ์ร้อน การซึมผ่านของยา
🍃 เรื่องกินทุเรียน แล้วไปกินเหล้า เสียชีวิต แล้วอะไรที่ไปแก้ฤทธิ์ทุเรียน
🍃ทำไมทุเรียนถึงรสร้อน แต่ทำไมตอนกินไม่รุ้สึกเผ็ด
🍃ทำไมกินมังคุดถึงไปลดฤทธิ์ร้อนของทุเรียนได้
🍃การกินน้ำเกลือ แก้ฤทธิ์ทุเรียนไม่ให้ร้อน แล้วน้ำเกลือกินตอนไหน
🍃 มังคุดกินตอนไหน
🍃 14:43 อบเชย ไคร้เครือ สารสำคัญ
🍃 26:37 วิเคราะห์สูตรยาอายุวัฒนะ เกลือ 3 มะขาม 7 บอระเพ็ด 5 ว่าเป็นยาอายุวัฒนะจริงๆหรือไม่
==========================
EP31: Day 9 - Clip 2/3
🍃 น้ำมันกัญชาจะมาช่วยเรื่องเส้นเลือดสมองตีบได้ไหม
การใช้รสเมาในกัญชาร่วมกับสมุนไพรอื่น เพื่อให้ได้สรรพคุณที่ต้องการ
🍃 กัญชา รสเมาเบื่อ ร้อน เย็น หรือสุขุม?
🍃 ส่วนใหญ่รสปร่าจะมีฤทธิ์เมาทั้งหมด
🍃 สมอพิเภกถ้าแก่ก็ฝาด อ่อนก็เปรี้ยว มะม่วงเล็กมากๆฝาด เปรี้ยว หวาน
ขมิ้นอ่อนจะฝาดมากกว่าเผ็ดน้อย ถ้าแก่ชึ้นก็จะปร่ามากกว่า
🍃 รสขมไปทำอะไรกับเสมหะ
🍃 ยาอมประสะมะแว้ง
🍃 ยาอำฤาควาที ถ้าตัดรากไคร้เครือกับน้ำประสานทองสะตุออกไปแล้ว ยังจะให้สรรพคุณดีเหมือนเดิมไหม?
🍃 ยาทาพระเส้น ถ้าเป็นผงเทียบกับที่จะใช้สด
🍃 ยาเบญจอำมฤตย์ ประกอบด้วย มหาหิงคุ์ ยาดำ รงทอง รากตองแตก และ ดีเกลือ ในตำรับนี้ มีการนำยาดำใส่ในผลมะกรูด เอาขี้วัวพอก แล้วเผาไฟ
🍃 ในตำรับยาอำมฤควาที
ถ้าไม่มีน้ำประสานทอง กับรากไคร้เครือ จะเป็นอย่างไร
ควรใช้ยาสมุนไพรตัวไหนแทนดี?
🍃 ไอแห้ง ไอมีเสมหะต้องแยกแยะให้ดี
เพราะฤทธิ์ยาจะต่างกัน
==========================
EP32: Day 9 - Clip 3/3
🍃 หลักการทำงานของยานัตถุ์ และแนวคิดในการตั้งตำรับยา?
⇾⇾ ยานัตถุ์ไปทำอะไรกับ องค์ประกอบของร่างกาย?
🍃 ภูมิแพ้อาการในทางแผนไทยมองอย่างไร
🍃 วิเคราะห์ตำรับยาปราบชมพูทวีป
🍃 วิเคราะห์ตำรับยามธุรเมหะ(เบาหวาน)
🍃 มะแว้งเครือใช้ลูก
🐟🐟🐟🐟🐟🐟🐟🐟
EP33: Day10 - Clip 1/5
🍃อธิบายภาพรวมของบทที่ 4 คุมฤทธิ์ เสริมฤทธิ์
⇾⇾ คุมฤทธิ์ เสริมฤทธิ์ - ปิตตะ(พัทธะ อพัทธะ กำเดา)
==========================
EP34: Day10 - Clip 2/5
🍃อธิบายภาพรวมของบทที่ 4 คุมฤทธิ์ เสริมฤทธิ์
⇾⇾ คุมฤทธิ์ เสริมฤทธิ์ - วาตะ
🍃 โรคซึมเศร้า
===============================
EP35: Day10 - Clip 3/5
🍃 ปัจฉิมนิเทศ สรุปภาพรวมที่เรียนมาทั้งหมด
🍃 อ.ไกรสีห์ ปิดจบ
===============================
EP36: Day10 - Clip 4/5
❤️❤️❤️ ตอบคำถาม โดยอ.ไกรสีห์
🍃ปัญหาคือ ชื่อโรคทางแผนปัจจุบัน
เรามักจะไปติดกับชื่อโรค
ที่ถูกคือ เราต้องวิเคราะห์ให้ออกว่า
เกี่ยวกับพันกับอวัยวะไหน ธาตุไหน สมุฏฐานไหน
สาเหตุของโรคกระทบมาจากไหน
อย่างเช่นภูมิแพ้
ต้องวิเคราห์ให้ออกว่ามาจากไหน?
ทางเดินหายใจหรือเปล่า
มีอาการ ไอ จาม ไหม
ศอเสมหะ อุรเสมหะ
หรือเป็นทางน้ำเหลือง
🍃 การปรุงยาแต่ละครั้ง เราต้องมาชิมรสทุกครั้งไหม?
🍃 ตำรับยาล้วนมาจาก คนไข้
คนไข้ก็จะมีอาการบอกมา
คนมีอาการจุกเสียดแน่น มีแสบท้องไหม มีท้องเสียไหม
หรือเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่
❤️ ยาสมุนไพรแต่ละล๊อต
อาจจะเสื่อมคุณภาพ
หรือตัวยาอ่อนเกินไป
เราต้องชิมตั้งแต่วัตถุดิบ ว่ารสได้ไหม
เช่นสมอไทย ต้องการรสเปรี้ยวมากกว่าฝาด
ดูลักษณะทางกายภาพก็อาจจะพอมองออก
🍃 เถาวัลย์เปรียง บางทีเก็บไว้นาน
อาจจะต้องชิม เถาวัลย์เปรียงต้องมีรสเผ็ดท้ายๆด้วย มีปร่า มีรสเมา
🍃 ดอกมะลิ ดอกไม้ทั้งหลาย
ควรต้องมีรสหอมเย็น
ถ้ามีแต่รสขม ไม่มีกลิ่นเลย
เอามาปรุงยาหอมก็ไม่มีประโยชน์
🍃 ยาบางตำรับดมดูก็พอรู้ว่า
มีตัวยาอะไรบ้าง
🍃 โกฐชฏามังสี บางทีก็หยิบผิดตัวมา
🍃 ดีบัวนี่ไปนึ่งมาหรือเปล่า ถ้าไปนึ่งก่อนสรรพคุณจะลด
🍃 เกสรบัวใช้แต่เกสรอย่างเดียว ต้องมีอัพเรณู ผงเหลืองๆติดมือถึงจะดี
กลิ่นต้องหอม
🍃 ดอกบุนนาค
🍃 ดอกพิกุล ฐานรองดอกจะฝาดมาก
🍃 มะลิศาลเจ้า ต้องระวัง อาจจะใส่กลิน หรือฉีดยา ต้องมีกลิ่นหอมหวาน ตำรับจริงๆใช้มะลิสด ใช้ไม่เยอะ บดผสมกับยา อัดเป็นเม็ดเป็นแท่ง ยาเทพจิตรที่ใช้เท่ายาเท่าหลายเพราะเป็นขงแห้ง สรรพคุณมันจะน้อย
🍃 น้ำกุหลาบ น้ำดอกไม้เทศก็มีทั้งกินได้กับกินไม่ได้
🍃 สะค้านที่เอามาทำยาต้องเป็นสะค้าแบบไหน
🍃 เปิดคลินิก ใช้ตัวยาสมุนไพรสักกี่ตัวดี ถ้าเอามาจากคัมภีร์ก็อย่างน้อย 400-500 ตัว
🍃 การเตรียมเครื่องยาก็จำเป็น เช่นฝักราชพฤกษ์ กลับไซร้ท้องใส่เทียน5 กลายเป็นว่า ยาคุมฤทธิ์เยอะเกิน
ตัวเหม็นจริงๆอยู่ที่เมล็ด
🍃 ปัญหาเรื่องฝุ่น อยากกระตุ้นการขับสารพิษออกจากปอด
ควรจะใช้กลุ่มสมุนไพรรสใด?
🍃 พูดถึงคอร์สตั้งตำรับยา ปรุงยา
===============================
EP37: Day10 - Clip 5/5
❤️❤️❤️ ตอบคำถามโดยอ.ไกรสีห์
🍃 ว่านน้ำต้องสะตุไหม?
⇾⇾ การสะตุ ประสะ ฆ่าฤทธิ์ บางครั้งไม่ได้เป็นการลดฤทธิ์อย่างเดียว แต่เป็นการเปลี่ยนทางฤทธิ์ด้วย
🍃 เรียนแล้วต้องไปฝึกวิเคราะห์
⇾⇾ สรุปภาพรวมว่าเราควรจะต้องเข้าใจเรื่องอะไรบ้าง และจะไปต่อยอดได้อย่างไร
🍃 กินเห็ดพิษเข้าไป ให้ใช้รางจืดผสมกับน้ำซาวข้าว เป็นเพราะใช้ฤทธิ์เย็นหรือเปล่า?
🍃 เคสคนไข้ที่มีอาการในฤดูร้อน? การกินอาหารอาจจะเสียง่าย
❤️ แผนไทย ในระยะยามมีโอกาสที่จะเริ่มเพี้ยน

คลิปตัวอย่างเนื้อหาบางส่วน

EP01: คอร์สทฤษฏีธาตุเพื่อการวิเคราะห์โรคฯ [คลิปตัวอย่าง]

EP02: ธาตุไฟ 4 และลม 6 กำเริบ หย่อน พิการ [คลิปตัวอย่าง]

EP03: อธิบายเสริมเรื่องธาตุลม 6 กับ หทัยวาจะ สุมนา สัตถกะวาะ

EP04: เข้าใจอากาศธาตุ ด้วยฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน [คลิปตัวอย่าง]

รายละเอียดการสมัคร

ค่าคอร์ส 2,500 บาท
ลดเหลือ 2000 บาท !!!

(อาจจะปรับราคาขึ้นตามความเหมาะสมในอนาคต)

 

รายละเอียดการชำระเงิน
โอนเข้าบัญชี ธ.กรุงไทย
ชื่อบัญชี่ กัมพล วิเชียรโหตุ
เลขที่บัญชี 0430212674

หรือ สแกนจ่ายผ่าน QR CODE

PrompPay_Kampol_edited.jpg
photo_๒๐๒๑-๑๒-๑๗_๑๕-๑๘-๐๕.jpg

หมอแผน( พท.ว.ภ.กัมพล )

ประวัติโดยย่อ

  • จบการศึกษาป.ตรี โท วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  • Master of Science in Finance, Chulalongkorn University

  • ศึกษาการแพทย์แผนไทยและสอบได้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยสาขาเวชกรรมไทย และเภสัชกรรมไทย

  • อาจารย์ผู้ดำเนินการสอน คอร์สทฤษฎีการจับชีพจรฯ

  • เจ้าของเพจ อิเล็กตรอนโบราณ

bottom of page