top of page
  • Writer's pictureKampol V

ว่าด้วยเรื่องของการจับชีพจร

Updated: Feb 7

พอพูดถึงการจับชีพจรนั้น หลายคนก็นึกถึงการนับจังหวะการเต้นของหัวใจ

แต่พอพูดว่า แมะ หรือหมอแมะ กลายเป็นเรื่องยากไกลตัว


จริงๆแล้ว การแพทย์อายุรเวทใช้วิธีการจับชีพจรเป็นรูปแบบหนึ่งในการวินิจฉัยโรค ซึ่งศาสตร์อายุรเวทนี้มาตั้งแต่กำเนิดขึ้นเมื่อ 5,000 ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นที่เล่าขานกันว่า แพทย์อินเดียจับชีพจรและดูที่ลิ้นของคุณ จากนั้นจะสามารถบอกคุณได้ว่าคุณกินอะไรเป็นอาหารเย็นเมื่อคืนก่อน ซึ่งคนไทยเรามาจะคุ้นเคยกับภาพหมอจีน หรือซินแสที่ใช้การจับชีพจรเพื่อตรวจโรค ซึ่งก็คือคำว่า "แมะ" นั่นเอง แม้จะอาศัยคนละศาสตร์ในการวินิจฉัย แต่ก็เป็นเครื่องบ่งบอกถึงว่าการจับชีพจรนั้นสามารถบอกโรคหรือสุขภาพของคนไข้ได้อย่างไม่น่าเชื่อ

แค่ศาสตร์การจับชีพจรก็แบ่งได้เป็นแพทย์แผนจีนกับอายุรเวทแล้ว



พอศึกษาค้นคว้าก็พบว่าแม้ในอายุรเวทเอง ก็มีการแบ่งสาย(อันนี้ภาษาของผมเอง) เช่น Dr. John, Dr. Lad และ Dr. Naram

สิ่งที่เหมือนกันและรูปแบบวิธีการที่ส่งต่อกันมา ก็คือการใช้สามนิ้วในการจับชีพจร (การแมะของจีนก็ใช้สามนิ้วในการแมะ) และสังเกตชีพจรที่จับได้

และแน่นอน การวิเคราะห์จะต้องไม่พ้นสมุฏฐาน วาตะ ปิตะ เสมหะ แต่ที่ต่างกันก็อาจจะเป็นหลักการแยกแยะต่างๆ วิธีการกดและระดับก็ต่างกันในแต่ละสาย

อย่างไรก็ตาม การตรวจวินิจฉัยโรคไม่ได้ใช้การจับชีพจรอย่างเดียว ยังไม่การดูสีหน้า ดูลิ้น และที่สำคัญคือการซักประวัติอีกด้วย


วิธีการโดยรวมของการจับชีพจร

เริ่มต้นด้วยการวางนิ้ว

นิ้วชี้วางอยู่ใต้ข้อมือฝั่งที่ติดกับนิ้วโป้งของคนที่เราจะจับชีพจร

ส่วนนิ้วกลางและนิ้วนางวางถัดจากนิ้วชี้

นิ้วที่จับชีพจรจะถูกปรับไปตามใต้แขนเพื่อหาตำแหน่งที่ชีพจรเต้นแรงที่สุด


ตอนสมัยเด็กๆ ผมก็มักจะมีปัญหาว่า หาของตัวเองไม่เจอ ก็ลองดูกันนะครับว่าแต่ละคนเป็นอย่างไงบ้าง


เรียบเรียงโดย #หมอแผน #อิเล็กตรอโบราณ

26 views0 comments

Commenti


bottom of page