top of page
Writer's pictureKampol V

ว่าด้วยเรื่องของ "อามะ"

อามะ (AMA) ในทางอายุรเวท ถ้าจะแปลเป็นภาษาที่เข้าใจง่ายๆก็คือพิษที่สะสมในร่างกายของเรา


➤ แล้วอามะกับมลธาตุเหมือนกันไหม ต่างกันอย่างไร?


อาะกับมละธาตุนั้นเป็นคนละอย่างกัน มละธาตุคือของเสียก็จริง

แต่เป็นของเสียที่เป็นปกติ คือต้องเกิดขึ้นเป็นปกติ เพราะหลังจากที่เรากินอาหารเข้าไปแล้ว

เมื่อร่างกายย่อยเรียบร้อย ย่อมต้องมีส่วนที่ร่างกายไม่ได้ใช้

หรือสิ่งที่เกิดขึ้นจากการย่อย

ส่วนอามะก็เกิดจากการที่อัคนีธาตุ(ไฟย่อย) ทำงานได้ไม่ดี

คือไม่สามารถเผาทำลายได้หมด

ทำให้เกิดเป็นสารพิษตกค้างในร่างกาย (คือทำเผาได้หมด ร่างกายจึงจะขับออกมาได้)

สรุปว่า ถ้าไฟย่อย หรืออัคนี ทำงานได้ดีเราก็จะได้ โอชะ

แต่ถ้าไฟย่อยอ่อน ทำงานไม่ดี เราก็จะได้อามะแถมมาด้วย


สาเหตุของอามะ

มีหลายสาเหตุที่อามะสามารถเริ่มสะสมในร่างกายได้ แต่อัคนีที่บกพร่องส่วนหนึ่งก็มาจากการสะสมของอามะ และเนื่องจากอามะเองก็รบกวนอัคนี บางครั้งจึงเป็นเรื่องยากที่จะบอกว่าอะไรเป็นสาเหตุหรือเริ่มก่อน 


นี่คือตัวอย่างบางส่วนของนิสัยดังกล่าว:

  • พฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่เหมาะสม:

  • การกินมากเกินไปหรือการกินตามอารมณ์

  • การเลือกกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์

  • อาหารทอด

  • อาหารเย็นหรือดิบในปริมาณมากเกินไป

  • อาหารแปรรูปหรือมีน้ำตาลสูง

  • รสหวาน เปรี้ยว หรือเค็มมากเกินไป

  • นอนหรือกินอาหาร ก่อนที่อาหารจะย่อยเสร็จ

  • นอนกลางวัน (ร่างกายบางคนอาจะไม่เหมาะ) เป็นต้น

  • พฤติกรรมอื่นๆ

  • การนอนหลับมากเกินไปหรือไม่เพียงพอ

  • ออกกำลังกายมากเกินไปหรือไม่เพียงพอ

  • มีความเครียดสูง อารมณ์กดดัน คลั่งค้างหรือไม่ได้รับการแก้ไข


➤ถ้าเทียบกับทางแผนไทยแล้ว ก็น่าจะใกล้เคียงกับคัมภีร์ธาตุบรรจบ

เพราะสาเหตุหลักๆเลยก็คือเรื่องของอาหารการกิน เช่น

กินอาหารมากเกินไป ของทอด ของมัน อาหารเย็น ดิบ

อาหารแปรรูป อาหารที่มีน้ำตาลสูง รสจัด

กินไม่ตรงเวลา (บางคนกินแล้วก็นอนเลย กินดึก)

หรืออาจจะเป็นเรื่องของอารมณ์ก็ได้ เครียดกดดันก็ทำให้เกิดอามะได้เช่นกัน


สัญญาณและอาการแสดงของอามะ

อาการและอาการแสดงทั่วไปของอามะในร่างกายได้แก่:

  • การอุดตันของช่อง (อาจทำให้เกิดอาการเช่นคัดจมูก, คัดจมูก, คัดจมูก, ท้องผูก, การเกิดของพังผืดตามส่วนต่างๆของร่างกาย ฯลฯ )

  • ความเหนื่อยล้า

  • เมื่อยล้าง่าย

  • การไหลของวาตะผิดปกติ (แสดงออกทางร่างกายได้หลายแบ ได้แก่ พลังงานเคลื่อนขึ้นส่วนเกินที่ทำให้เกิดอาการเสียดท้อง หรือพลังงานเคลื่อนลงส่วนเกินทำให้เกิดอาการท้องร่วง)

  • อาหารไม่ย่อย

  • การรับรู้รสชาติเสียไป เบื่ออาหาร

  • หย่อนสมรรถภาพทางเพศ

  • ความสับสนทางจิตใจ


อามะมีผลอย่างไร มีอาการอย่างไรบ้าง?

ในทางอายุรเวท การเสียสมดุลจะใช้หลักของ ปิตตะ วาตะ กผะ


ยกตัวอย่างเช่น เมื่ออามะระคนเข้ากับวาตะ มีแนวโน้มที่โรคมักจะก่อตัว

สะสมในบริเวณช่องท้องส่วนล่างและช่องอุ้งเชิงกราน

และมีแนวโน้มที่จะส่งผลรบกวนการทำงานของลำไส้ใหญ่และข้อต่อด้วย

อาจมีอาการร่วมอื่น เช่นรู้สึกว่าปากแห้ง หรือฝาดปาก


วาตาอามะอาจส่งผลให้มีอาการท้องผูก และยังสามารถทำให้เกิดผิวแห้ง

คัดจมูก ท้องอืด ปวดเมื่อยตามร่างกาย อาจมีอาการเจ็บร่วมด้วย

วาตาอามะ ถ้าสะสมนานๆ จะนำไปสู่โรคที่ร้ายแรงมากขึ้น

เช่น โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ โรคข้ออักเสบ และอาการปวดตะโพกร้าวลงขา


ปิตตะอามะ

เมื่ออามะกระทบต่อปิตตะโดชาก็มีแนวโน้มที่จะสะสมบริเวณช่องท้องส่วนกลาง

ได้แก่บริเวณในลำไส้เล็ก ตับ และถุงน้ำดี ปิตตะอามะยังมีแนวโน้มที่จะไหลเวียนอยู่ในระบบเลือด อาจทำให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ที่ มีลักษณะเป็นเนื้อ เปรี้ยว หรือเป็นกรด และอาจส่งผลให้มีรสขมหรือเปรี้ยวในปากได้  

มีลักษณะของดีรั่วไหล เช่น ปัสสาวะ อุจจาระ มีสีเหลืองเข้มหรือเขียว

การแสดงออกทางลิ้น คือเสมหะสีเหลืองเข้มเคลือบลิ้นอยู่


ปิตตะอามะถ้าส่งผลไปในทางหย่อน หรือความหนัก หนา เย็นกว่าปิตตะปกติ

ส่งผลทำให้ไฟย่อยอาหารลดลง ไม่อยากอาหาร และอาจทำให้เกิดอาการเสียดท้อง อาหารไม่ย่อย คลื่นไส้ ท้องร่วง เป็นไข้ ผื่น และความผิดปกติของผิวหนังอื่นๆ 

รวมถึงการอักเสบที่ลุกลาม หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา ปิตตะอามะ อาจทำให้เกิดแผลที่เยื่อบุเมือก ความผิดปกติที่ร้ายแรงในตับ รวมถึงการติดเชื้อในเลือด


กผะอามะ

อามะประเภทกผะมักสะสมในกระเพาะอาหาร หน้าอก ปอด และโพรงไซนัส 

มีความหนา เหนียว ขุ่น เหนียว มีกลิ่นเหม็น ขับเสมหะได้ง่าย 

ทำให้เกิดรสเค็มหรือหวานในปากได้ อาจรู้สึกอยากเรอ แต่ไม่สามารถเรอออกมาได้ 

กผะอามาระงับทั้งไฟอัคนีและความอยากอาหาร และมักทำให้เกิดเสมหะจำนวนมาก 

เป็นหวัด ไอ แน่นไซนัส ตลอดจนคัดจมูกและต่อมน้ำเหลืองบวม


ปรับสมดุลกผะอามะ

เนื่องจากกผะมักสะสมที่บริเวณในกระเพาะอาหารและปอด สมุนไพรที่เหมาะจึงมันเป็นกลุ่ม ขับเสมหะ ขับลม และสมุนไพรและเครื่องเทศที่มีรสปร่า ขม และฝาด เป็นต้น


ก่อนจบบทความ

ขอแทรกแนวคิด หรือองค์ความรู้ทางอายรุเวทที่เกี่ยวกับ ที่ตั้งแห่งสมุฏฐาน

ทางอายุรเวทบอกว่า ปิตตะ วาตะ กผะ ก็มีตำแหน่ง คล้ายๆกับเจ้าที่

ที่ประจำ เช่น ลำไส้ใหญ่ หรือช่องท้องส่วนล่าง เป็นส่วนรวมหรือที่อยู่ของวาตะ

ปิตตะ ก็จะอยู่บริเวณกระเพาะอาหาร ส่วนเสมหะก็อยู่บริเวณทรวงอก คือปอด

จะเห็นว่า อามะของแต่ละสมุฏฐานนั้น จะมีการสะสมของอามะที่สองคล้องกับเรื่องของที่ตั้งด้วย

ภาพนี้แสดงจุดใหญ่ๆ หรือที่ตั้งใหญ่ๆ ซึ่งจริงๆแล้ว ยังมีที่ตั้งหรือสาขาย่อยอีกด้วย

เช่น ปิตตะก็จะไปสะสมได้ที่ ตา ตับ ต่อมเหงื่อเป็นต้น

เดี่ยวไว้จะแยกเป็นอีกหัวข้อหนึ่งดีกว่าครับ




References:

38 views0 comments

Comments


bottom of page