top of page
Writer's pictureKampol V

ว่าด้วยเรื่องของสโรตะ หรือ 16 Channel ในทางอายุรเวท


เครดิตภาพจาก https://clinicasunyata.com.br/blog/srotas/


สโรตะ ถ้าจะแปลก็จะเป็นเส้นทางเดิน เป็น Channel

ก็มีส่วนคล้ายกับเส้นลมปราณของแพทย์แผนจีน แต่เป็นคนละมุมกัน

จะมีทั้งแบบเส้นพลังงาน ช่องทางจริงๆก็มีเช่นทางเดินอาหารเป็นต้น

แต่ละเส้นหรือแต่ละสโรตะจะมีจะเริ่มต้นหรือราก เรียกว่า สโรตะมูละ

ทางเดินก็คือ สโรตะมรรคะ ส่วนทางออกหรือปลายที่เปิดออกเรียกว่า สโรตะมุขะ

ก่อนพูดถึงสโรตะ จะขอพูดถึงการจะแบ่งธาตุเป็น 3 กลุ่ม


ตามในหนังสืออายุรเวทของขุนนิทเทส มีกล่าวถึงตรีธาตุในหลายความหมาย

บางครั้งหมายถึงตรีโทษ (Tri-Doshas) ในแง่ของการทำงานที่ปกติ

บางครั้งเอามาใช้จำแนกธาตุในร่างกายเป็น 3 กลุ่มได้แก่

กลุ่ม1. ธาตุหล่อเลี้ยงร่างกาย 3 ประการ

กลุ่ม2. ธาตุดำรงร่างกาย ซึ่งก็คือธารณธาตุ 7 ประการ

กลุ่ม3. ธาตุที่ขับถ่ายออกจากร่างกาย มลธาตุ 3 ประการ

(ขอให้ทำความเข้าใจว่า มลธาตุเช่นอุจจาระธาตุเป็นสิ่งจำเป็น และเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายปกติที่ต้องมี แพทย์แผนไทยหรือพุทธศาสนาก็ได้กล่าวถึงอุจจาระธาตุ หรืออาหารเก่าว่าเป็นส่วนหนึ่งของ อวัยวะร่างกาย 32 ประการ ส่วนสิ่งที่เป็นพิษนั้นทางอายุรเวทจะเรียกว่าอามะ Ama)

ดังนั้นสโรตะเลยจัดแบ่งเป็น 3 กลุ่มตามภาพ

แต่จะมีเพิ่มขึ้นอีก 1 ธาตุคือมโนธาตุหรือจิตนั่นเอง


สโรตะ(Srotas) เป็นช่องทางที่สารอาหาร เนื้อเยื่อ (ธารณธาตุ) ของเสีย (มลธาตุ) รวมถึงสื่อกระแสประสาทสัมผัส สโรตะมีรากหรือจุดเริ่มต้น ทางเดิน และช่องเปิด ในบางครั้งอาจเกิดการอุดตันการไหลเวียนในสโรตะ ทำให้เกิดการสะสมการก่อโรคขึ้นได้


กลุ่ม1. ธาตุหล่อเลี้ยงร่างกาย 3 ประการ

กลุ่มนี้มองว่าเป็น input ที่เข้ามาเป็นน้ำมัน หรือพลังงาน เพื่อนำไปหล่อเลี้ยงร่างกาย



กลุ่ม2. ธาตุดำรงร่างกาย ซึ่งก็คือธารณธาตุ 7 ประการ

กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ทำให้ธาตุดำรงอยู่ได้ ครองธาตุได้ ตั้งอยู่ได้




กลุ่ม3. ธาตุที่ขับถ่ายออกจากร่างกาย มลธาตุ 3 ประการ

ส่วนนี้ก็จะเหมือนของส่วนที่เหลือจากการเอากลุ่มที่ 1 มาหล่อเลี้ยงกลุ่มที่ 2 ก็จะเป็นส่วนของมลธาตุที่ต้องขับออก ในตารางด้านล่างนอกจาก 3 ตัวแล้ว ก็จะมี มโนธาตุใส่เพ่ิมเข้าไปด้วย จะมองว่าแยกออกมาต่างหากก็ได้





สโรตะนี่สำคัญมาก และนำไปใช้ในการวิเคราะห์สาเหตุและกลไกของโรคได้

นอกจากนี้ยังเอาไปใช้ในคัมภีร์ว่าด้วยเรืื่องของการกดจุดอีกด้วย (กดจุดในศาสตร์อายรุเวทก็มีนะครับ

ไม่ใช่จะมีแต่จีนที่จะพูดถึงเรื่องของจุดฝังเข็ม ส่วนจะเหมือนหรือต่างกันอย่างไร เดี่ยวค่อยมาว่ากันอีกที)


แหล่งที่มา

2. อายุรเวทศึกษา (วิชาแพทย์แผนโบราณ), ขุนนิเทสสุขกิจ

#อิเล็กตรอนโบราณ

61 views0 comments

Recent Posts

See All

Comments


bottom of page