top of page
Writer's pictureKampol V

ว่าด้วยเรื่องของดีปลี

บทความนี้ถึงแม้จะเป็นเรื่องของดีปลี แต่ก็แฝงไปเรื่องอื่นๆที่จะอยากจะสอดแทรก

เรื่องแรกเลย ก็คือเรื่องของพิกัด พิกัดยาจริงๆแล้วมีมาตั้งแต่สมัยของอายุรเวทอินเดียแล้ว

ทางประเทศไทยก็รับเอาเข้ามา จะเป็นว่าจะพิกัดที่ชื่อเหมือนกันเลย และตัวยาเหมือนกันเลย

ได้แต่ ตรีกฏุก ตรีผลา เป็นต้น แพทย์โบราณเราก็ได้อาศัยแนวคิดนี้ตังพิกัดมาอีกหลายอย่างตามที่เราได้เรียนมา

นอกจากเรื่องพิกัดแล้ว ก็จะมีเรื่องของรสยา ซึ่งดีปลีก็เป็นตัวยาหนึ่งที่ระยะรสะ กับระยะวิปากะเป็นคนละรสกัน


กลับเข้ามาเรื่องดีปลีหัวเรื่อง

ลองหาข้อมูลของดีปลี พบว่าดีปลีก็มีหลายพันธุ์

ตามข้อมูลจากเวป www.foodnetworksolution.com บอกว่า ดีมี 3 ขนิด

ดีปลี (long pepper หรือ เรียกว่า Indian long pepper) เป็นพืชที่จัดเป็นเครื่องเทศ ดีปลีจัดอยู่ในวงศ์ พิเพอร์ราซี้อี้ (Piperaceae) มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ

1. Piper chaba Vahl. (ดีปลีไทย)

2. Piper peepuloides (ดีปลีอินเดีย)

3. Piper retrofractum Vahl. (ดีปลีอินโดนีเซีย)



ในจาระกะ(อายุรเวท) มีการใช้ 2 ชนิดคือ

1. Piper Chaba Hunt.

น้ำต้มจากกรากและผลแห้งใช้สำหรับน้ำมันฆี

สรรพคุณ การไอแบบวัณโรค, อาหารไม่ย่อย, เสียงเปลี่ยน ตานขโมย

2. Piper longum linn.

ดอก ผล ราก แห้ง

สรรพคุณ ช่วยย่อยอาหาร


ที่น่าสนใจคือเรื่องของรสยา

รสยาที่ลิ้นที่ปากเป็นรสเผ็ด

แต่ระยะวิปากะ กลายเป็นรสหวาน


มีการนำมาใช้เพื่อเป็นตำรับยาแก้หอบหืดและโลหิตจางด้วย

โดยใช้ผงดีปลี 1 ส่วน น้ำตาลโตนด 2 ส่วน

คำถามคือแล้วตรีกฏุกใช้พันธ์ไหน หรือว่าเหมือนๆกัน


ปล.อายุรเวทมีพิกัดยาชื่อตรีกฏุกเหมือนกัน

ref:

3. รายงานการวิจัย การศึกษาวิเคราะห์โรคกและพืชสมุนไพรในคัมภีร์จรกสัมหิตา , อ.ดร. อุเทน วงศ์สถิตย์

7 views0 comments

Comments


bottom of page