top of page
  • Writer's pictureKampol V

มาลองตรวจปัสสาวะตามศาสตร์อายุรเวทกัน!

มีเกล็ดเล็กเกล็ดน้อยในทางอายุรเวทมาฝาก

เรารู้กันอยู่แล้ว่าปัสสาวะ เป็นช่องทางหนึ่งในการขับมลธาตุ

เพื่อปรับให้วาตะ ปิตตะ เสมหะสมดุลกันในร่างกาย

ดังนั้น เราจึงสามารถตรวจความผิดปกติ หรือ

การเสียสมดุลของตรีธาตุได้จากการตรวจปัสสาวะ

ซึ่งนอกจากการสังเกตสี และกลิ่นแล้ว

ยังสามารถทดสอบด้วยการหยดน้ำมันงาลงในปัสสาวะ

(จำเป็นต้องใช้น้ำมันงาหรือไม่ ตำราไม่ได้บอกไว้)

ปัสสาวะนี่ควรเก็บตอนเช้า และเก็บตอนกลางๆระหว่างฉี่

ถ้าใครตรวจแล้ว มาแชร์กันได้นะครับ





โลหิตนอกจจากหล่อเลี้ยร่างกายแล้ว ยังต้องทำหน้าที่ของเสีย(Mala)

ซื่งส่วนหนึ่งขับออกทางปัสสาวะ ระบบปัสสาวะจะช่วยรักษาระดับความเข้มข้นของสานอิเล็กโตรไลท์ในร่างกายให้ปกติ และควบคุมปริมาณของเหลวงในร่างกาย รวมถึงการผลิดเม็ดเลือดแดงและระดับความดันโลหิตด้วย ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า

ระบบปัสสาวะก็เป็นระบบหนึ่งที่ช่วยปรับสมดุลของ วาตะ ปิตตะ เสมหะ


การตรวจปัสสาวะ: ให้เก็บปัสสาวะตอนเข้า ระหว่างปัสสาวะให้เก็บช่วงกลางๆ(คือไม่เก็บช่วงแรก)

สังเกตสี:

สีออกน้ำตาล => วาตะเสียสมดุล

สีเหลืองเข้ม => ปิตตะเสียสมดุล

ถ้ามีอาการท้องผูก หรือเสียน้ำมากหรือกินน้ำน้อย ก็จะมีสีเหลืองเข้ม

แต่ถ้าออกมาขุ่นๆ ก็จะเป็น เสมหะเสียสมดุล


ถ้าสีออกแดง ก็เป็นไปได้ว่ามีเหลือดปนออกมา ระบบโลหิตเสียสมดุล

การทดสอบด้วยน้ำมันงา

ถ้าหยดน้ำมันงาแล้ว น้ำมันกระจายออกบนผิวทันที แปลว่าถ้ามีโรคโรคก็จะรักษาง่าย


แต่ถ้าจมลงไปที่กลางภาชนะก็แปลว่ารักษายาก

ถ้าจมลงไปเลยก็แปลว่ารักษายากมาก

ถ้าหยดลงไปแล้วเกิดมีลักษณะกระจายที่ผิวเป้นคลื่นๆ ก็วาตะเสียสมดุล

ถ้าหยดลงไปแล้วเป็นสีหลายสีเหมือสีรุ้ง ก็ปิตตะเสียสมดุล

ถ้าหยดไปแล้วแตกเป็นเม็ดเหมือนไข่มุกก็เสมหะเสียสมดุล




ปัสสาวะปกติจะมีกลิ่นปัสสาวะทั่วไป แต่ถ้าปัสสาวะมีกลิ่นเหม็นแสดงว่ามีสารพิษในระบบ กลิ่นที่เป็นกลิ่นเปรี้ยวๆซึ่งทำให้รู้สึกแสบร้อนแสดงว่าปิตตะมีมากเกินไป กลิ่นหอมหวานของฉี่บ่งบอกถึงภาวะเบาหวาน


แปลเรียบเรียงโดย หมอแผน อิเล็กตรอนโบราณ

อ้างอิงจาก หนังสือ Ayurveda: the science of self healing, Vasant Lad

10 views0 comments

Comments


bottom of page