อายุรเวท เป็นภาษาสันสกต แปลว่า ศาสตร์แห่งชีวิต เป็นคัมภีร์รอง ของทางฮินดู
ส่วนคัมภีร์หลักของพระเวท ประกอบไปด้วย 4 เล่มด้วยกัน (ตอนเด็กเราเรียนกันมา 3 เล่ม)
ฤคเวท (Rigveda)
ยชุรเวท (Yajurveda)
สามเวท (samaveda)
อถรรพเวท(Atharvaveda)
องค์ความรู้ของอายุรเวทกล่าวถึงชีวิตทั้งในแง่กายภาพ และวิทยาศาสตร์ทางจิต
รวมถึงโรคภัย สุขภาพ ความเสียใจ ความเจ็บป่วย
ได้ให้นิยามของชีวิตว่า เป็นการแสดงออกของจิตจักรวาล(Cosmic
Consciousness)
แนวความคิดของ ประกฤติ กับ ปุรุษะ มีคนเอามาเขียนไว้แล้ว
ลองไปศึกษากันดูครับ https://www.gotoknow.org/posts/260095
ถ้ามีโอกาสจะมาลงรายละเอียดอีกที
อายุรเวทได้รวมเอาปรัชญา 6 ระบบเข้ามาด้วยได้แก่
Nyâya, Vaisheshika, Sânkhya, Yoga, Mimâmsâ
and Vedanta. และในช่วงหลังก็ได้เอาศาสนาพุทธเข้ามารวมด้วย
แต่ที่เป็นหลักๆเลยคือ Sânkhya
องค์ความรู้ดั้งเดิมนั้น ได้มาจากการเข้าสมาธิของฤาษี(ก็คงเหมือนในละครจักรๆวงศ์ๆในสมัยเด็กที่เราดูกันนั่นแหละ)
ฤาษีกปิละ ก็ฤาษีที่ผู้คิดค้นปรัชญาสังขยะSânkhya ได้อธิบายถึงการเกิดของจักรวาล จากความว่างไม่มีอะไร ก็แตกออกมาเป็นพลังหยางเรียกว่า ปุรุษะ และพลังหยินเรียกว่า ประกฤติ (แนวความคิดของ ประกฤติ กับ ปุรุษะ มีคนเอามาเขียนไว้แล้ว
ลองไปศึกษากันดูครับ
ถ้ามีโอกาสจะมาลงรายละเอียดอีกที)
กลับมาพูดถึงคัมภีร์ทางอายุรเวทกันบ้าง
จากที่เล่ามาข้างบน การแพทย์อายุรเวทเริ่มมาจากฤาษี
และถ่ายทอดกันปากต่อปาก
จนมาถึงยุคสมัยหนึ่งก็เริ่มมีการจดบันทึกทำเป็นตำรา
คัมภีร์หลักๆของอายุรเวท มีแต่งทั้งหมด 3คน(ชื่อ)
คนแรกชื่อแต่งคัมภีร์ชื่อ จารกะ (Charaka Samhita) ตามที่ไปค้นมาเค้าว่ากันว่าไม่ทราบประวัติผู้แต่งแน่นอน อาจจะเป็นกลุ่มคนหรือสำนักก็ได้ แต่งเป็นภาษาสันสกฤต เกี่ยวกับการวินิจฉัยโรค ธาตุ และยาสมุนไพร
คัมภีร์จารกะมี 8,400 โศลก เพื่อให้จำง่าย ใช้ภาษาสันสกฤต
แบ่งเป็น 8 ภาค รวม 120 บท
เอ็มบริโอวิทยาและกายวิภาคของมนุษย์และสัตว์
คัมภีร์ที่สองคือ ศศรุต สังหิตา(Sushruta Samhita)
เล่มนี้ว่าด้วยเรื่องการผ่าตัดศัลยกรรม (Shalya) และหลักการแพทย์อื่นๆ
ซึ่งจะให้ความสำคัญกับระบบโลหิต และปิตตะ แต่งเป็นภาษาสันสกฤตเช่นกัน
ศศรุต สังหิตาจะมีทั้งหมด 7000 โศลก แบ่งเป็น 186 บท 1000 โรค
สมุนไพร 700 ชนิด
และสองคัมภีร์สุดท้ายคือ Ashtanga Hridayam(Heart of Medicine)
และ Ashtanga Sangraha("Compendium of Medicine")
แต่งโดย Vagbhata(ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเป็นคนๆคนเดียวหรือหลายคน)
ส่วนคัมภีร์เล่มรองซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะเป็นการสรุปเอาหลักๆของคัมภีร์หลักๆโดยเฉพาะของจารกะ
เอามาเรียบเรียงให้กระชับมากขึ้น ซึ่งก็คือ Sharngadhara Samhita
Reference:
Comments